article
โสม กับสรรพคุณในการต่อต้านมะเร็ง

 

โสม กับสรรพคุณในการต่อต้านมะเร็ง


          โสม (Ginseng หรือ Panax ginseng C.A. Mey.) เป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในแถบตอนเหนือของจีนและเกาหลี ซึ่งคนนิยมใช้ส่วนรากเป็นยาบำรุงร่างกายมาช้านาน เนื่องจากโสมประกอบด้วยสารหลายชนิดที่มีสรรพคุณเป็นเลิศ
          หลายคนอาจคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจาก โสมขาว และ โสมแดง ซึ่งความแตกต่างของโสมทั้ง 2 ชนิดคือโสมแดงจะมาจากรากโสมที่มีอายุมากกว่า และผ่านกรรมวิธีการอบไอน้ำฆ่าเชื้อโรคจนเปลี่ยนเป็นสีออกน้ำตาลแดง ทำให้สารสกัดจากโสมแดงนั้นมีสรรพคุณเหนือกว่าและมีราคาแพงกว่า


สารประกอบสำคัญในโสม


          รากโสมอุดมด้วยสารหลายชนิด ที่มีฤทธิ์ช่วยบำรุงร่างกายและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เช่น Glycoside, Saponin, Peptidoglycan, Nucleosides, Panaxosides, Triterpenes และน้ำมันหอมระเหยซึ่งทำให้โสมมีกลิ่นจำเพาะซึ่งช่วยให้ความผ่อนคลาย
          นอกจากนี้ โสมยังมีสารที่สำคัญมากอีกชนิดหนึ่ง คือ Ginsenosides ซึ่งพบอยู่ในรากแขนง และมีฤทธิ์บำรุงร่างกายมากที่สุด โดยเชื่อกันว่า Ginsenosides ร่วมกับสารชนิดอื่นๆ มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงสมอง แก้อาการหย่อนสมรรถภาพ รวมถึงช่วยยับยั้งการอักเสบและต่อต้านมะเร็งชนิดต่างๆ ได้อีกด้วย


โสมต่อต้านมะเร็งได้อย่างไร?


          โสมมีสรรพคุณที่โดดเด่นในการยับยั้งการเกิดมะเร็ง และการกำจัดเซลล์มะเร็งในร่างกาย โดยจากงานวิจัยต่างๆ พบว่าฤทธิ์ของโสมที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านมะเร็ง มีดังนี้


● สารในรากโสมนั้นมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยปกป้องไม่ให้เซลล์ถูกทำลายหรือเกิดการอักเสบเสียหายรุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ปกติกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง ดังนั้น การทานสารสกัดโสมจึงมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ตั้งแต่ขั้นเริ่มแรก
● โสมมีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยการเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาว และช่วยให้เม็ดเลือดขาวสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
● สารสกัดจากโสมสามารถยับยั้งการแบ่งตัวและกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งได้ โดยมีการศึกษาทดลองกับเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
● โสมมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายและระบบประสาท การทานโสมจึงช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย และช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายในผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยการฉายแสงหรือเคมีบำบัดได้


ข้อควรระวังในการรับประทานโสม


          ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการทานสารสกัดโสม ได้แก่ อาการนอนไม่หลับ กระวนกระวาย หงุดหงิด อาหารไม่ย่อย ท้องเดิน ประจำเดือนขาด หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง และเนื่องจากโสมเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน จึงไม่ควรรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์


คนที่ควรหลีกเลี่ยงการทานสารสกัดโสม ได้แก่


- คนที่ต้องกินยาลดน้ำตาลในเลือด ยาสลายลิ่มเลือด ยาแอสไพริน ยากระตุ้นหัวใจ และยาต้านเศร้า
- เด็ก สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
- ผู้ป่วยที่มีไข้ตัวร้อน มีความดันโลหิตสูง หรือมีปัญหานอนไม่หลับ

 

Share this Article

สินค้าแนะนำ