article
ฟื้นฟูสุขภาพกระดูกด้วยงาดำ (Black Sesame Extract)

 

 

 ฟื้นฟูสุขภาพกระดูกด้วยงาดำ

       เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น เริ่มตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ปัญหาสุขภาพที่มักพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว และยิ่งมีอายุมากขึ้นไปถึง 60 ปี ประสาทสัมผัสกับการควบคุมแขนและขาก็จะเสื่อมถอยไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้หกล้มหรือมีอุบัติเหตุทำให้กระดูกหักได้ง่ายและเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนอีกด้วย  ดังนั้นการบำรุงดูแลสุขภาพกระดูกจึงเป็นสิ่งสำคัญ และไม่เพียงแต่วัยผู้สูงอายุนั้น วัยรุ่นหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมนอกบ้านตลอดเวลาก็ต้องอาศัยความแข็งแรงของกระดูกมากเช่นกัน  ดังนั้นเราจึงควรรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงกระดูก เช่น ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงอยู่เป็นประจำ เพื่อเป็นการบำรุงสุขภาพกระดูก

 

      แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อสุขภาพกระดูก เพราะแคลเซียมประมาณ 99% ของร่างกายใช้ไปกับการสร้างกระดูกและฟัน ดังนั้นหากปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะนำแคลเซียมที่สะสมในกระดูกออกมาใช้ จึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้ แร่ธาตุแคลเซียมและสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกได้เพิ่มขึ้นได้ ดังที่มีผลการวิจัยรายงานว่าการได้รับแร่สังกะสีต่ำทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะบริเวณสะโพกและกระดูกสันหลัง

 

       หนึ่งในอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมและสังกะสีสูง นั่นคือ “งาดำ“ โดยงาดำหนึ่งช้อนโต๊ะ หรือ 30 กรัมมีปริมาณแคลเซียมสูงถึง 22% ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน และสังกะสีมากถึง 21%ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน นอกจากนี้ยังมีแมงกานีสและแมกนีเซียมและสังกะสีสูงถึง 32%, 25% ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวันตามลำดับอีกด้วย สารดังกล่าวเหล่านี้จะพบสูงในงาดำ แต่ถ้างาดำถูกกะเทาะเปลือกก็จะทำให้ปริมาณแคลเซียมลดลงไปมากเช่นกัน การเสริมแคลเซียมในเด็ก ก็สำคัญเช่นกันเพราะเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตและต้องการสารอาหารและแร่ธาตุเพื่อใช้ในการสร้างกระดูก ซึ่งนอกจากแคลเซียมจะช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรงขึ้นแล้วยังเป็นช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูกอีกด้วย การที่มีมวลกระดูกที่แข็งแรงจะทำให้เด็ก ๆ มีความพร้อมจะเจริญเติบโตและมีพื้นฐานที่ดีต่อไป

 

      นอกจากการทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงแล้ว การออกกำลังกายอย่างเป็นประจำจะเป็นช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น เพราะกระดูกได้ฝึกการรับน้ำหนักอย่างเป็นประจำ หากเป็นผู้สูงอายุอาจต้องระวังการออกกำลังกายที่ใช้เข่าหรือกระดูกมาก ๆ เพราะอาจเสี่ยงต่อการกระดูกเปราะหรือหักได้ การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาดังนั้นเราจึงต้องใส่ใจสุขภาพกระดูกอย่างสม่ำเสมอนะคะ 

Share this Article