article
ป้องกันภาวะกระดูกพรุนด้วยแคลเซียม (Calcium)

 

 

ป้องกันภาวะกระดูกพรุนด้วยแคลเซียม (Calcium)

                “ แคลเซียม ” ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะในกระดูกและฟัน กว่า 99% ของแคลเซียมทั้งหมดอยู่ในกระดูกและฟัน ส่วนอีก 1% ที่เหลืออยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาทิ คอยดูแลระบบประสาท, ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ แคลเซียมจึงจัดว่าเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก

 

                อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ว่ากว่า 99% ของแคลเซียม อยู่ในกระดูกและฟัน การรักษาปริมาณแคลเซียมในร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็น หากร่างกายเกิดอาการขาดแคลเซียม ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดภาวะกระดูกเปราะแตกหักง่าย, โรคกระดูกอ่อน หรือทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุอาจทำให้กระดูกหักหรือแตกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

                โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่แร่ธาตุที่สำคัญในร่างกาย โดยเฉพาะแคลเซียมในกระดูกลดลง ร่วมกับการเกิดความเสื่อมของเนื้อเยื่อภายใน ทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลง เกิดการเปราะบางแตกหักง่าย ที่เรียกกันว่า โรคกระดูกพรุน

 

                ภายในกระดูกประกอบด้วย แร่ธาตุต่างๆ มากมาย อาทิ โปรตีน, คอลลาเจน และแคลเซียม กระดูกของคนเรามีการสร้างและสลายตัวอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ในขณะที่มีการดึงแคลเซียมที่ร่างกายรับประทานมาเสริมสร้างกระดูก ร่างกายก็จะทำการสลายแคลเซียมเก่าออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งแคลเซียมจัดเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ การรักษาปริมาณแคลเซียมในร่างกายให้ออยู่ในเกณฑ์ที่พอดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิง เมื่อมีอายุมากขึ้น ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนในร่างกายจะลดต่ำลง ฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายและช่วยชะลอการสลายตัวของแคลเซียมในเนื้อกระดูก ซึ่งการขาดฮอร์โมนเอสโทรเจน จะทำให้กระดูกบางลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดโรคกระดูกพรุน ได้ง่าย

 

                ตามความเห็นขององค์การอนามัยโลก ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายคนเราควรได้รับต่อวันไว้ ดังนี้ กลุ่มอายุต่ำกว่า 10 ปี ควรได้รับแคลเซียม 500-700 มิลลิกรัม/วัน, กลุ่มอายุ 10-18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1300 มิลลิกรัม/วัน, กลุ่มอายุ 19-65 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัม, อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1300 มิลลิกรัม

 

                ในการรักษาโรคกระดูกพรุน ส่วนใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานแคลเซียมเสริม เพื่อบำรุงกระดูก และทดแทนแคลเซียมที่ถูกขับออกจากร่างกาย ทั้งการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ เช่น นม, ผักบางชนิด, กุ้งแห้ง, ถั่ว, ปลา ร่วมกับการให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเสริมชนิดที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ เพื่อทดแทนแคลเซียมที่ร่างกายเสียไป ซึ่งหากผู้ป่วยโรคกระดุกพรุนได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และได้รับแคลเซียมในระดับที่เหมาะสม  ก็จะสามารถช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นลงได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกเปราะ หรือโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน

 

Share this Article