article
โค-เอนไซม์ คิวเท็น (Co-Enzyme Q10) เริ่มเอามาใช้ครั้งแรกอย่างไร

 

 

โค-เอนไซม์ คิวเท็น (Co-Enzyme Q10) เริ่มเอามาใช้ครั้งแรกอย่างไร

                โค-เอนไซม์ คิวเท็น เราอาจจะเคยได้ยินบ่อยๆ ในระยะไม่เกิน 10 ปีมานี้เอง เพราะหลายๆ แบรนด์พยายามโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองมีส่วนผสมของ โค-เอนไซม์ คิวเท็น แต่ถ้าเราย้อนกลับไปในอดีตที่ไกลกว่านั้น เจ้า โค-เอนไซม์ คิวเท็น เริ่มนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อไร และนำมาใช้ทำอะไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก

 

                การค้นพบ โค-เอนไซม์ คิวเท็น นั้น มีการค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1957 โดย Dr. Frederick Crane ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการแยกมาจากส่วนไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ของหัวใจวัว (โค-เอนไซม์ คิวเท็น พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย โดยพบมากในส่วนหัวใจ) Dr. Frederick Crane สามารถแยก โค-เอนไซม์ คิวเท็น ออกมาจากหัวใจวัวในรูปของผงละเอียดสีส้ม

 

                โค-เอนไซม์ คิวเท็น พบในไมโทคอนเดรียเป็นหลักของเซลล์ยูคาริโอต เป็นองค์ประกอบของลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน และโค-เอนไซม์ คิวเท็น ยังมีส่วนช่วยเซลล์ในการใช้ออกซิเจน สร้างพลังงาน อวัยวะที่ใช้พลังงานสูงสุด ซึ่งจำเป็นต้องมี โค-เอนไซม์ คิวเท็น คือ หัวใจ นั่นเอง ในร่างกายมนุษย์จะใช้การสร้างพลังงานส่วนใหญ่ในรูปแบบ ATP

 

                ในปีต่อมา Professor Karl Folkers และคณะทำงานของเขาได้ค้นพบ สูตรโครงสร้างของ โค-เอนไซม์ คิวเท็น ทำให้สามารถหมัก และสังเคราะห์ โค-เอนไซม์ คิวเท็น ขึ้นมาได้เอง (ในปี ค.ศ. 1957 พบว่าร่างกายสามารถผลิต โค-เอนไซม์ คิวเท็น ขึ้นมาเอง จึงต้องสกัด โค-เอนไซม์ คิวเท็น ต้องนำมาจากหัวใจเท่านั้น)

 

                เนื่องจาก โค-เอนไซม์ คิวเท็น มีความสำคัญในการสร้างพลังงาน โดยเฉพาะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ หัวใจ จึงมีการพยายามนำ โค-เอนไซม์ คิวเท็น มาเป็นอาหารเสริมสำหรับโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด

 

                หลังจากทางฝั่งอเมริกาสามารถสกัด โค-เอนไซม์ คิวเท็น ได้แล้ว แต่คนแรกที่นำ โค-เอนไซม์ คิวเท็นมาใช้ในการรักษาคือชาวญี่ปุ่น Professor Yamamura ซึ่งเขาได้นำ Professor Yamamura มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว เนื่องจาก Professor Yamamura ได้สังเกตว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจมี โค-เอนไซม์ คิวเท็นในร่างกายต่ำลง และเมื่อได้รับ โค-เอนไซม์ คิวเท็นเสริมเข้าไปจนปริมาณโค-เอนไซม์ คิวเท็นอยู่ในระดับปกติแล้ว พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น สรุปผลได้ว่า เมื่อปริมาณ โค-เอนไซม์ คิวเท็นเป็นปกติเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจสามารถสร้างพลังงานได้ตามปกติ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาแก่ผู้อื่นที่สนใจนำ โค-เอนไซม์ คิวเท็น มาเป็นอาหารเสริมในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหัวใจ อาการเจ็บหน้าอก และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด

 

                ต่อมาจึงมีการทำการศึกษา โค-เอนไซม์ คิวเท็น มากขึ้น และยังมีความพยายามในการใช้กับโรคที่รักษาไม่หาย ได้แก่ โรคมะเร็ง ไทรอยด์ เอดส์ เพราะโรคดังกล่าวต้องการพลังงานร่างกายเพิ่มมากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถใช้ โค-เอนไซม์ คิวเท็น รักษาโรคเหล่านี้ให้หายขาด เพียงแต่ทำให้อาการดีขึ้น เพราะโค-เอนไซม์ คิวเท็น ช่วยในการสร้างพลังงานนั่นเอง

 

                จะเห็นได้ว่าจุดเริ่มต้นของ โค-เอนไซม์ คิวเท็น ในเริ่มแรก ก่อนที่จะมานิยมนำมาใช้เป็นอาหารเสริมอย่างแพร่หลายทุกวันนี้ มาจากการใช้ในการรักษาโรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งเป็นคุณสมบัติเพียงส่วนหนึ่งของ โค-เอนไซม์ คิวเท็น เท่านั้น

 

 

Share this Article