article
สารสีเหลืองในขมิ้น (Turmeric) กับคุณค่าที่คุณต้องแปลกใจ

 

สารสีเหลืองในขมิ้น (Turmeric) กับคุณค่าที่คุณต้องแปลกใจ

 

        เมื่อถามว่า หากนึกถึงขมิ้นชัน คุณจะคิดถึงอะไรบ้าง เชื่อแน่ว่าในตอนนี้ หลายคนคงตอบมากกว่าการนึกถึงมขมิ้นชันในอาหาร เพราะเราจะดห็นความนิยมของขมิ้นชันในหลาย ๆ วงการมาก ๆ  ไม่ใช่แค่ในถ้วยแกง แต่เราเห็นขมิ้นชันในวงการความงาม ในวงการยาสมุนไพรโบราณ ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาที่หลากหลาย ความโดดเด่นของขมิ้นชันนี้ ล้วนมาจากสารสำคัญที่เราเห็นสีเหลือง ๆ ในขมิ้นชันนั้นแหละค่ะ

 

        สารสีเหลือง ที่เราเห็นในขมิ้นชันเมื่อถูกสกัดแล้วจะเรียกว่า เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) เจ้าสารตัวนี้แหละที่สำคัญมากๆ โดยกลุ่มสารสีเหลืองส้มที่ เรียกว่า เคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) นี้ ประกอบด้วยสารหลัก 3 ตัว คือ ปริมาณเคอร์คูมินอยด์ที่พบในเหง้าขมิ้นชันแตกต่างกันในแต่ละแหล่งปลูกค่ะ ไม่ว่าใช่ในขมิ้นทุกแหล่งจะเหมือนกันหมดนะคะ ซึ่งวัตถุดิบขมิ้นชันที่ดีควรมีเคอร์คูมินอยด์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ค่ะ ตอนนี้การศึกษาวิจัยฤทธิ์ของเคอร์คูมินอยด์ ได้รับการยอมรับและมีการพัฒนานำมาใช้อย่างกว้างขวางในต่างประเทศมากค่ะ เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี

 

        คุณค่าของเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) กับร่างกายมนุษย์

 

1.เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) จะลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และลดการสร้างอนุมูลอิสระของไขมัน เพราะฉะนั้นจะช่วยผู้ที่กำลังเผชิญปัญหาไขมันในเส้นเลือดสูง ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนอันดับต้นๆเลยค่ะ

2.เคอร์คูมินอยด์(Curcuminoids) ช่วยยับยั้งการสร้างเอนไซม์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งบางชนิดและโรคอักเสบอย่างเรื้อรัง โดยได้มีการทดลองในสัตว์ทดลองนะคะ ตอนนี้มีการพัฒนานำสารตัวนี้มาการรักษามะเร็งที่ลำไส้ และมะเร็งผิวหนัง และได้มีความพยายามการคิดค้นเพื่อรักษามะเร็งเต้านม เพราะมีผลวิจัยว่าเคอร์คูมินอยด์สามารถลดการเติบโตของมะเร็งเต้านมได้ แต่ทั้งหมดนี้กำลังอยู่ในการพัฒนาให้เกิดความเสถียรค่ะ

3.เคอร์คูมินอยด์(Curcuminoids) ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม เนื่องจากสารตัวนี้มีผลกับการลดการอักเสบของเนื้อเยื่อสมองที่เป็นโรคเกี่ยวกับสมองเสื่อมและลดการเสียหายจากการเกิดอนุมูลอิสระของเซลล์ในสมอง

4.เคอร์คูมินอยด์(Curcuminoids)ได้รับการพัฒนาวิจัยล่าสุดคือ พบว่ามีฤทธิ์การต้านการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยทีมวิจัยได้ทำการศึกษาประสิทธิผล รวมทั้งผลข้างเคียงของสารสกัดขมิ้นชันเทียบกับยาต้านการอักเสบไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งนับเป็นเรื่องน่ายินดีมาก ๆ เลยค่ะ

 

เพราะฉะนั้นตอนนี้ อย่าได้มองข้ามสิ่งใกล้ ๆ ตัวอย่างขมิ้นชันค่ะ เพราะปัจจุบันคุณประโยชน์ของขมิ้นชันนั้นถูกคิดค้นและพัฒนาต่อยอดไปเรื่อย ๆ

ซึ่งวันข้างหน้าเราอาจจะพบว่าเวชภัณฑ์ยารอบตัวเรามีส่วนผสมจากขมิ้นชันเป็นส่วนใหญ่ก็เป็นได้   

 

 

Share this Article