ผลงานวิจัยเกี่ยวกับโค-เอนไซม์ คิวเท็น (Co-Enzyme Q10)
โค-เอนไซม์ คิวเท็น มีชื่อเรียกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น Q10 , Ubiguinone ,Ubiquinole,Coenzyme Quinone โดยสามารถสกัดได้ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1957 โดย Dr. Frederick Crane ในการศึกษาคุณสมบัติของ โค-เอนไซม์ คิวเท็น ได้มีการเริ่มวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ในหลายประเทศนับตั้งแต่นั้นมา อีกหนึ่งในงานวิจัยที่โดดเด่น ถึงกับได้รับรางวัลโนเบล ในปี 1978 นั่นคือ การการศึกษาของ Peter Mitchell โดยเขาได้ศึกษาถึงการทำงานของโค-เอนไซม์ คิวเท็น ที่เกิดขึ้นกับเซลล์ และการสร้างพลังงานโดยโค-เอนไซม์ คิวเท็นในหน่อยพื้นฐานของร่างกายมนุษย์ ที่เรียกว่า ATP (Adenosine Triphosphate) โดยใน 95% ของร่างกายมนุษย์จะสร้างพลังงานโดยวิธีนี้
ในช่วงทศวรรษที่ 60 นักวิทยาศาสตร์ยังได้ค้นพบว่า โค-เอนไซม์ คิวเท็นเป็นสารอาหารมหัศจรรย์ และมีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก หากร่างกายขาดโค-เอนไซม์ คิวเท็นไปประมาณ 75% จะส่งผลกระทบให้ร่างกายหยุดทำงานเป็นต้นเหตุให้เสียชีวิตได้ เนื่องจาก โค-เอนไซม์ คิวเท็นมีความจำเป็นในการสร้างพลังงานสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น พลังงานในการให้หัวใจเต้น พลังงานในการให้อวัยวะต่างๆ ทำงาน หากอวัยวะสำคัญอย่างหัวใจ ตับ สมอง เหล่านี้ขาดพลังงาน เริ่มแรกจะเป็นสาเหตุทำให้เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ฯลฯ และหากขาดพลังงานโดยสิ้นเชิงทำให้อวัยวะสำคัญหยุดทำงาน ร่างกายจะเสียชีวิตในที่สุด
ในงานกิจกรรมกินเพื่อสุขภาพและความงาม ประเทศไทย ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ประจำฝ่ายเคมีทางอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวเสวนาในงานดังกล่าว ถึง โค-เอนไซม์ คิวเท็นในเรื่องของการเป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายของมนุษย์และสัตว์ และมีความสำคัญกับอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลาอย่างหัวใจ ตับ ไต นอกจากนี้ โรคทาลัสซีเมีย พาร์กินสัน มะเร็งยังมีระดับ โค-เอนไซม์ คิวเท็น ที่ต่ำมากจึงมีความจำเป็นต้องบริโภคทางอาหารเสริมเข้าไปเพื่อป้องการการขาดโค-เอนไซม์ คิวเท็น
ดร.เอกราช เกตวัลห์ ยังได้กล่าวเสริมอีก เรื่องปริมาณของสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดย โค-เอนไซม์ คิวเท็นปริมาณ 20-30 มก. ก็เพียงพอกับความต้องการของร่างกายใน 1 วัน โดยควรรับประทานร่วมกับอาหารที่มีไขมัน ซึ่งจะช่วยในการดูดซึมโค-เอนไซม์ คิวเท็นได้ดี เนื่องจากเป็นสารอาหารที่สามารถละลายได้ในไขมันทำให้ร่างกายดูดซึมนำไปใช้ได้ดี ถึงแม้โค-เอนไซม์ คิวเท็นจะมีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นเดียวกับสารอาหารอื่นๆ
โดยผู้ใหญ่สุขภาพดีทั่วไปหากรับประทานโค-เอนไซม์ คิวเท็น สูงถึง 300 มก. ใน 1 วัน จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เวียนหัว ไม่สบายท้องได้ เพราะฉะนั้นการเลือกรับประทานสารอาหารใดๆ จึงควรต้องศึกษา หรืออยู่ในความดูแลของแพทย์เสมอ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมนั่นเอง
Share this Article